วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประเภทของสื่อการเรียนรู้(เทคโนโลยี)

ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper Text)

ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) หมายถึง ข้อความหรือกลุ่มของข้อความที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยมีการนำเสนอแบบปฏิสัมพันธ์ โดยการนำข้อความที่ใช้ มาเป็นจุดเชื่อมโยง ซึ่งจะมีลักษณะเด่นกว่าข้อความอื่น เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี ตัวหนา หรือตัวเอียง เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ประกอบด้วย
พอยต์ (Point) หมายถึง กลุ่มคำ หรือ วลี ที่เป็นข้อความพิเศษ ที่แสดงว่ามีการเชื่อมโยงเกิดขึ้น เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี หรือตัวหนา เพื่อทำให้รู้ว่า เป็น พอยต์ เมื่อผู้อ่านเลื่อนเคอร์เซอร์มาถึงพอยต์ เคอร์เซอร์จะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์อื่น เช่น รูปมือ
โหนด (Node) หมายถึง กลุ่มคำของข้อมูลที่สัมพันธ์กันหรือเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งถูกจัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน ซึ่งในโหนดนั้น อาจมีพอยต์มากกว่าหนึ่งพอยต์ก็ได้ ความหมายของโหนดนั้นไม่สามารถระบุได้ตายตัว โหนดหนึ่งโหนดอาจเปรียบเทียบได้กับเนื้อหาข้อมูลที่เขียนขึ้นมาอยู่บนกระดาษแผ่นเดียวกัน
ลิงค์ (Link)  หมายถึง การเชื่อมโยงเอกสารจากต้นทางไปปลายทาง จำแนกลิงค์ออกได้เป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย
  1. ลิงค์ชนิดอ้างถึง (Referential Link)  ใช้สำหรับเชื่อมโยงโดยอ้างถึงโดยตรงระหว่างจุดสองจุด เช่น ปุ่มที่มีข้อความลิงค์ไปข้างหน้า หรือย้อนกลับ
  2. ลิงค์ชนิดแผนภูมิ (Organization Link) มีความคล้ายคลึงกับลิงค์ชนิดอ้างถึง จะแตกต่างกันตรงที่ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างโหนดด้วยกันในลักษณะที่เป็นโครงสร้างเป็นชั้นๆ  (ไฮราคี่)
  3. ลิงค์ชนิดคีย์เวิร์ด (Keyword Link) เป็นการนำกลุ่มคำหรือวลีต่างๆ ที่มีความหมายและสัมพันธ์ระหว่างกันมาเชื่อมโยงด้วยวิธีการเดียวกับการลิงค์ชนิดอ้างถึงหรือแผนภูมิ




บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
    
CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTION

    คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด

โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา





วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา




โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา 

(Educational Media)


          เป็นโครงงานทีใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยการสร้างโปรแกรมบทเรียน หรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวนและคำถามคำตอบไว้พร้อม ผู้เรียนสามารถเรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอน ไม่ใช่เป็นครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบ Online ให้นักเรียนเข้ามาศึกษาด้วยตนเองก็ได้


        โครงงานประเภทนี้สามารถพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการสอนในวิชาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาขาคอมพิวเตอร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาสังคม วิชาชีพอื่น ๆ ฯลฯ โดยนักเรียนอาจคัดเลือกหัวข้อที่นักเรียนทั่วไปที่ทำความเข้าใจยาก มาเป็นหัวข้อในการพัฒนาโปรแกรมบทเรียน ตัวอย่าง เช่น โปรแกรมสอนวิธีการใช้งาน ระบบสุริยะจักรวาล โปรแกรมแบบทดสอบวิชาต่าง ๆ








วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต

คือ การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับ Backbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router   สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการเชื่อมโยง การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งานเป็นสำคัญ เช่นใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลที่บ้าน ใช้ในเชิงธุรกิจ ใช้เพื่อความบันเทิง หรือใช้ภายในองค์กรขนาดใหญ่  ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่นิยมใช้มี 5 ลักษณะ คือ

1. การเชื่อมต่อแบบ Dial Up
          เป็นการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่เคยได้รับความนิยมในยุคแรก ๆ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บุคคล กับสายโทรศัพท์บ้านที่เป็นสายตรงต่อเชื่อมเข้ากับโมเด็ม (Modem) ก็สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้แล้ว ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตต้องทำการติดต่อกับผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านหมายเลขโทรศัพท์บ้าน โดยผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะกำหนดชื่อผู้ใช้ (Username) และรหัสผ่าน (Password) มาให้เพื่อเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ต 



2.การเชื่อมต่อแบบ ISDN(Internet Services Digital Network) 
        เป็นการเชื่อมต่อที่คล้ายกับแบบ Dial Up เพราะต้องใช้โทรศัพท์และโมเด็มในการเชื่อมต่อ ต่างกันตรงที่ระบบโทรศัพท์เป็นระบบความเร็วสูงที่ใช้เทคโนโลยีระบบดิจิตอล (Digital) และต้องใช้โมเด็มแบบ ISDN Modem ในการเชื่อมต่อ
 

3.การเชื่อมต่อแบบ DSL(Digital Subscriber Line)
         เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยใช้สายโทรศัพท์ธรรมดา ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตและพูดผ่านสายโทรศัพท์ปกติได้ในเวลาเดียวกัน 


4.การเชื่อมต่อแบบ Cable 
         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโดยผ่านสายสื่อสารเดียวกับ Cable TV จึงทำให้เราสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปพร้อม ๆ กับการดูทีวีได้ โดยต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม 


5.การเชื่อมต่อแบบดาวเทียม (Satellites) 
         เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า Direct Broadcast Satellites หรือ DBS โดยผู้ใช้ต้องจัดหาอุปกรณ์เพิ่มเติม


ที่มา - http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5bf204ac20583837

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

อุปกรณ์เทคโนโลยีสมัยใหม่



         




       ออกแบบมาสำหรับนักวิทยาศาสตร์ นักธรณีวิทยา นักโบราณคดี หรือนักผจญภัย รถยนต์ "Nissan 4x4 Terranaut" คันนี้มีห้องโดยสารทรงกลม ที่นั่งคนขับปรับหมุนได้ 360 องศา น่าเสียดายที่เบาะสำหรับผู้โดยสารมีเพียง 1 ที่นั่งเท่านั้น 



ที่มา - http://sopon55.blogspot.com/2013/01/blog-post.html

คำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์


คำศัพท์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

  1. Online : ในสายหรือเชื่อมตรง 
  2. Recording : บันทึก
  3. Management : การจัดการ
  4. Smart Drive : การ์ดหน่วยความจำ
  5. Interrupt : การติดต่ออุปกรณ์รูปแบบหนึ่ง
  6. Decode Unit : ถอดรหัสหน่วย
  7. Graphic : ทัศนศิลป์อย่างหนึ่ง
  8. Software : ส่วนชุดคำสั่ง
  9. String : อักขระ
  10. System : ระบบ
  11.  Text : แฟ้มที่ประกอบด้วยตัวอักษร
  12. RAM : หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว
  13. program : ชุดคำสั่ง
  14. printer : เครื่องพิมพ์
  15.  item : หน่วยข้อมูล
  16. minicomputer : คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
  17. microprocessor : ตัวประมวลผล
  18. menu : รายการเลือก
  19. function : ส่วนหน้าที่ย่อย
  20. flowchart : ผังงาน
  21.  interactive system : ระบบเชิงโต้ตอบ
  22.  input : รับเข้า
  23. output : ส่งออก
  24. editor : บรรณาธิกรณ์หรือบรรณาธิการ
  25. diskette : แผ่นบันทึก
  26. documnutation : การจัดทำเอกสาร
  27.  electronic mail : การสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิกส์
  28.  digital computer : คอมพิวเตอร์เชิงตัวเลข,คณิตกรเชิงตัวเลข
  29. debug : แก้จุดบกพร่อง
  30. data processing : การประมวลผลข้อมูล
  31. data communications : การสื่อสารข้อมูล
  32. computer network : ข่ายงาน หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  33. computer operator : การดำเนินการคอมพิวเตอร์หรือการปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
  34. compiler : ตัวแปลชุดคำสั่งหรือชุดคำสั่งแปลชุดคำสั่ง
  35. channel : ช่องสัญญาณหรือร่องข้อมูล
  36. data base : ฐานข้อมูล
  37. data base administrator : การบริหารฐานข้อมูล
  38. data : ข้อมูล
  39. control unit : หน่วยควบคุม
  40. byte : ไบต์
  41. buffer : ที่พักข้อมูล ที่ปรับอัตรา หรือกันชน
  42. BASIC : ภาษาเบสิก
  43. background processing : การประมวลผลส่วนหลัง
  44. laser printer : เครื่องพิมพ์ใบ้ระบบแสงเลเซอร์
  45.  personal computer : คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
  46. expert system : ระบบผู้เชี่ยวชาญ
  47. constant : ค่าคงที่
  48. Analog : ระบบอนาล็อค
  49. Windows : ระบบปฏิบัติการ
  50. Virus Warning : การติดตั้งคำเตือนไวรัส




วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การใช้ APPLICATION เพื่อการศึกษา

iKnowledge 



เป็นแอพเพื่อการศึกษา แอพความรู้รอบตัว มีหลากหลายทั่วโลก เป็นลักษณะของคำถาม และคำตอบให้คลิกดูเฉลย ทายกันเล่นๆได้ด้วย

ทำงาน บน ระบบ IOS 





อันตรายจากการใช้อินเตอร์เน็ต

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อุปกรณ์พื้นฐานคอมพิวเตอร์

Microprocessor
    
            ไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) คือ วงจร (ชิป) ที่ใช้ในหน่วยประมวลผลกลาง  ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ 2หน่วย ได้แก่
1.หน่วย ควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่งคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ  เช่น ควบคุมการทำงานของหน่วยความจำหลัก หน่วยรับข้อมูล หน่วยคำนวณและตรรกะ หน่วยแสดงผล และที่เก็บข้อมูลต่างๆ
2.  หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า เอแอลยู (ALU) ทำหน้าที่ประมวลผลการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนการเปรียบเทียบตรรกะทั้งหมด

           ไมโครโพรเซสเซอร์ที่รู้จักกันดีก็ได้แก่ ยี่ห้อ Motorola 68030, 68040 ที่ใช้กับเครื่องแมคอินทอชของบริษัทแอปเปิล ส่วนที่ใช้กับเครื่องพีซี มีชื่อว่า Intel 286, 386, 486 และ Pentium

ที่มา  http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=1c1c9cfd092d2eb3




Hard Disk

        Hard Disk   คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่าง  ๆ  เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/harddisk.html

Monitor

        จอภาพ Monitor เป็นอุปกรณ์แสดง ผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (Text) กับจอแบบกราฟิก (Graphic) โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด สำหรับจอภาพแบบกราฟิก จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pixel) เช่น 640 pixel x 480 pixel
         ลักษณะภายนอกของจอภาพก็คล้ายๆ กับจอโทรทัศน์นั่นเอง สิ่งที่แสดงออกทางจอภาพมีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดแสดงผล (Video Card, Video Adapter) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่เสียบบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอภาพแสดงผล

ที่มา http://www.pbps.ac.th/e_learning/combasic/Monitor.html

ประเภทของระบบสารสนเทศ



ความหมาย



ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของบุคคล หรือ ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems-EIS, Executive Support Systems -ESS)
             เป็น ระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งของ DSS ที่สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารระดับโดยเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญต่อ องค์การหรือเรื่องทิศทางการดำเนินงานขององค์การ โดยทำการเข้าถึงสารสนเทศและรายงานต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว EIS มีการออกแบบที่ง่ายต่อการใช้ (user friendly) โดยมีการใช้รูปกราฟฟิคในการออกแบบหน้าจอ

ระบบสารสนเทศสำหรับกลุ่มบุคคลในการตัดสินใจ (Group Decision Support Systems-GDSS)

            GDSS เป็นระบบสารสนเทศประเภทหนึ่งของ DSS ซึ่งมีลักษณะเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะโต้ตอบได้ (interactive) ในการสนับสนุนงานแก้ไขปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง สำหรับผู้ตัดสินใจที่ทำงานกันเป็นกลุ่ม (De Santi & Gallespe, 1987) เป้าหมายของ GDSS คือการปรับปรุงประสิทธิภาพการประชุมและการตัดสินใจ หรือทั้งสองอย่าง โดยการช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นภายในกลุ่ม ช่วยกระตุ้นความคิด ระดมความคิด และการแก้ปัญหาความขัดแย้ง




ข้อแตกต่างของ EISและGDSS



EIS

1) ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ โดยประเมินและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

2) ช่วยในการควบคุมเชิงกลยุทธ์

3) การสร้างเครือข่าย (Networks) เครือข่ายในที่นี้ หมายถึงบุคคลต่างๆ ทำงานร่วมกันในการบรรลุจุดมุ่งหมาย

4) ช่วยในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ระบบยังสามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่งทั้งในระดับประเทศและต่าง ประเทศรวมทั้งสามารถในการจัดหาสินค้าของซัพพลายเออร์

GDSS

1) ทำให้การมีส่วนร่วมในการประชุมเพิ่มขึ้น เพราะผู้เข้าร่วมประชุมสามารถแสดงความเห็นได้พร้อมกัน

2) สร้างบรรยากาศของความร่วมมือ กล่าวคือ ความเห็นหรือข้อมูลที่ผู้เข้าร่วมประชุมแสดงออกไป GDSS จะไม่เปิดเผยชื่อ

3) การประเมินมีลักษณะเป็นวัตถุวิสัยมากขึ้น (Evaluation Objectivity) การไม่เปิดชื่อของผู้แสดงความคิดเห็นทำให้การวิจารณ์เป็นไปได้โดยไม่มีอคติ

4) ช่วยให้มีการเข้าถึงแหล่งข้อมูลภายนอกได้อย่างรวดเร็ว