วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประเภทของสื่อการเรียนรู้(เทคโนโลยี)

ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper Text)

ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) หมายถึง ข้อความหรือกลุ่มของข้อความที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยมีการนำเสนอแบบปฏิสัมพันธ์ โดยการนำข้อความที่ใช้ มาเป็นจุดเชื่อมโยง ซึ่งจะมีลักษณะเด่นกว่าข้อความอื่น เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี ตัวหนา หรือตัวเอียง เป็นต้น
องค์ประกอบของระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ประกอบด้วย
พอยต์ (Point) หมายถึง กลุ่มคำ หรือ วลี ที่เป็นข้อความพิเศษ ที่แสดงว่ามีการเชื่อมโยงเกิดขึ้น เช่น การขีดเส้นใต้ การเน้นด้วยสี หรือตัวหนา เพื่อทำให้รู้ว่า เป็น พอยต์ เมื่อผู้อ่านเลื่อนเคอร์เซอร์มาถึงพอยต์ เคอร์เซอร์จะเปลี่ยนเป็นสัญลักษณ์อื่น เช่น รูปมือ
โหนด (Node) หมายถึง กลุ่มคำของข้อมูลที่สัมพันธ์กันหรือเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งถูกจัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน ซึ่งในโหนดนั้น อาจมีพอยต์มากกว่าหนึ่งพอยต์ก็ได้ ความหมายของโหนดนั้นไม่สามารถระบุได้ตายตัว โหนดหนึ่งโหนดอาจเปรียบเทียบได้กับเนื้อหาข้อมูลที่เขียนขึ้นมาอยู่บนกระดาษแผ่นเดียวกัน
ลิงค์ (Link)  หมายถึง การเชื่อมโยงเอกสารจากต้นทางไปปลายทาง จำแนกลิงค์ออกได้เป็น 3 ชนิด ประกอบด้วย
  1. ลิงค์ชนิดอ้างถึง (Referential Link)  ใช้สำหรับเชื่อมโยงโดยอ้างถึงโดยตรงระหว่างจุดสองจุด เช่น ปุ่มที่มีข้อความลิงค์ไปข้างหน้า หรือย้อนกลับ
  2. ลิงค์ชนิดแผนภูมิ (Organization Link) มีความคล้ายคลึงกับลิงค์ชนิดอ้างถึง จะแตกต่างกันตรงที่ เป็นการเชื่อมโยงระหว่างโหนดด้วยกันในลักษณะที่เป็นโครงสร้างเป็นชั้นๆ  (ไฮราคี่)
  3. ลิงค์ชนิดคีย์เวิร์ด (Keyword Link) เป็นการนำกลุ่มคำหรือวลีต่างๆ ที่มีความหมายและสัมพันธ์ระหว่างกันมาเชื่อมโยงด้วยวิธีการเดียวกับการลิงค์ชนิดอ้างถึงหรือแผนภูมิ




บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
    
CAI ย่อมาจากคำว่า COMPUTER-ASSISTED หรือ AIDED INSTRUCTION

    คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุด

โดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK) นอกจากนี้ยังเป็นสื่อ ที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถที่จะประเมิน และตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น